15 สิ่งควรรู้ก่อนการรีโนเวทบ้าน และอาคารตึกแถว
สำหรับใครหลายคนที่คิดว่าการรีโนเวทบ้านเป็นเรื่องใหญ่และไม่รู้จะไปเริ่มจากจุดไหนดี ในวันนี้ 369 House Design จะพาไปดู 15 สิ่งควรรู้ก่อนการรีโนเวทเพื่อช่วยให้คุณวางแผนโปรเจครีโนเวทที่กำลังจะเกิดขึ้นให้สมบูรณ์แบบที่สุดแบบ step by step กันไปเลย
1. รีโนเวทคืออะไร
ก่อนที่เราจะเริ่มเจาะลึกในรายละเอียดเพื่อวางแผนสำหรับการรีโนเวทนั้น อย่างนั้นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างควรเข้าในความหมายหรือคอนเซปต์คร่าวๆของการรีโนเวทก่อนเป็นสิ่งที่ดียิ่งนักเพื่อให้เจ้าของสิ่งปลูกสร้างสื่อสารกับแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการรีโนเวทต่อจากนี้อยู่ในกรอบของคำว่ารีโนเวทที่ตรงกัน
การรีโนเวท หรือ Renovation
ในกรณีนี้นั้นจะหมายถึง การบูรณะ ซ่อมแซม ปรับปรุง ต่อเติม คืนสภาพสิ่งปลูกสร้างเดิมที่ถูกทำลายไปไม่ว่าจะเกิดจากการใช้งาน หรือกาลเวลา ให้กลับมาดูดีขึ้นเหมือนใหม่ มีชีวิชีวาและทันสมัยมากขึ้น ให้สิ่งปลูกสร้างนั้นสามารถกลับมาใช้งานได้ดีดังเดิมหรือมากกว่าเดิม และรวมไปถึงซ่อมแซมและเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยสิ้นเชิงก็ได้เช่นเดียวกัน โดยกระบวนการรีโนเวทนั้นประกอบไปด้วยรายละเอียดและขั้นตอนมากมาย ตั้งแต่การวางแผน การตั้งงบประมาณในการรีโนเวท การออกแบบ การปรับปรุงตัวโครงสร้าง ขั้นตอนการก่อสร้างพร้อมตกแต่งเก็บรายละเอียดไปจนปิดงาน โดยทุกขั้นตอนเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเพิ่มพาบริษัทหรือผู้ที่มีความชำนาญเฉพาะทางแต่ละด้านในการให้บริการรีโนเวทนั้นออกมาไร้ปัญหาและปลอดภัยต่อผู้อยู่อาศัยที่สุด
2. เป้าหมายในการรีโนเวทบ้านต้องชัดเจน
การรีโนเวทบ้านประหยัดกว่าการปลูกบ้านใหม่จริงหรือ? นี่คือหัวใจสำคัญที่เจ้าของสิ่งปลูกสร้างนั้นต้องกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ในการรีโนเวทให้ชัดเจนตั้งแต่ต้น เพราะเป้าหมายที่ชัดเจนนั้นจะกำหนดทิศทางให้การรีโนเวทนั้นดำเนินไปได้อย่างถูกต้องและงบประมาณไม่บานปลาย การขาดการตั้งเป้าหมายในการรีโนเวทที่ชัดเจนนั้นน่ากลัววกว่าที่คิดนอกจากจะมีโอกาสสูงที่ทำให้งานรีโนเวทนั้นอาจถูกแก้ไขไปมาและไม่ตรงกับสิ่งที่ต้องการตั้งแต่ต้นแล้ว ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น อาจสูงพอๆกับการที่คุณปลูกบ้านหรือสร้างอาคารใหม่ทั้งหมดเลยเชียว ในวันนี้ 369 House Design เราจึงมีเป้าหมายหลักๆที่ทำให้คนส่วนใหญ่มักตัดสินใจรีโรเวทบ้านมาให้พิจารณากันว่าคุณตรงหรือเข้าข่ายในสิ่งที่ต้องการอยู่หรือไม่
ปรับปรุงทั้งหลังหรือบางส่วนเพื่อยืดอายุการใช้งาน
สิ่งปลูกสร้างที่ทรุดโทรมไปตามกาลเวลานั้นย่อมเป็นเรื่องธรรมดา การรีโนเวทในลักษณะของการปรับปรุงโดยกำหนดขอบเขตไม่ว่าจะเป็นทั้งหลังหรือบางส่วนนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง โดยสามารถประเมิณได้จากความเก่าและความทรุดโทรมเสียหายในแต่ละส่วน
จัดแบ่งพื้นที่ใช้สอยใหม่เพราะความต้องการใช้สอยพื้นที่เปลี่ยนไป
ไม่ว่าผู้พักอาศัยนั้นจะมากขึ้นหรือน้อยลง แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไปความต้องการในการใช้พื้นที่แต่ละส่วนก็ย่อมเปลี่ยนไปเช่นกัน การรีโนเวทโดยการจัดสัดส่วนของพื้นที่ใหม่ตามการใช้งานของผู้อาศัยนั้น จะทำให้พื้นที่เหล่านั้นถูกใช้สอยอย่างมีประโยชน์มากขึ้นและเหมาะกับการอยู่อาศัยมากขึ้น
เพื่อสุขอนามัยในการอยู่อาศัยที่ดีขึ้น
การรีโนเวทเพื่อสุขอนามัยนั้นก็อาทิเช่น การทำให้สว่างขึ้น โปร่งขึ้น ลดมุมอับ หรืออาจจะปรับตามฮวงจุ้ยที่ต้องการ ณ ตอนนั้น รวมไปถึงใช้แก้ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเช่น เชื้อรา แมลง ทางเดินมดหรือแหล่งที่แอบอาศัยของหนูและสัตว์เลื้อยคลานที่ไม่พึงประสงค์
เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้แก้ผู้อาศัยตามวัยที่เปลี่ยนไป
เมื่อเวลาเปลี่ยนไปทั้งจำนวนผู้อยู่อาศัยและวัยก็เปลี่ยนไปเช่นกัน การรีโนเวทบ้านเพื่อให้ตอบสนองต่อการใช้งานอย่างตรงจุดโดยเฉพาะเด็กและวัยชรานั้นสิ่งที่ได้มานอกเหนือจากความสะดวกสบายนั้นคือความปลอดภัยและเอื้อต่อการใช้ชีวิตของคนอยู่อาศัยมากที่สุด
เพื่อความปลอดภัยของสิ่งปลูกสร้าง
เมื่อโครงสร้างเก่าและทรุดโทรมลงตามกาลเวลาเป็นอย่างมาก การรีโนเวทเพื่อทำนุบำรุงโครงสร้างบ้านที่ถือว่าเป็นเสาหลักของทั้งหมดจึงพึงกระทำเป็นอย่างยิ่ง การรีโนเวทนั้นจึงเปรียบเสมือนยาชั้นดีที่คอยบำรุงและซ่อมแซมให้แก่โครงสร้างบ้านอันแข็งแกร่ง
เพื่อความสวยงามและทันสมัย
ต้องการปรับโฉมใหม่เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศในการอยู่อาศัยให้สดชื่นมีชีวิตชีวาและทันสมัยขึ้น โดยไม่ว่าจะเป็นสไตล์การออกแบบ ตกแต่ง หรือแม้แต่กำหนดฟังก์ชันการใช้งานใหม่โดยในข้อนี้มักคำนึงถึงดีไซน์เป็นที่ต้องและสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้มัณฑนากรวิชาชีพหรือนักออกแบบภายในที่มีความสามารถ มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ
3. ตรวจสอบสภาพบ้านและโครงสร้างปัจจุบัน
เมื่อเป้าหมายในการรีโนเวทของเราชัดเจนแล้วนั้น ต่อมาเป็นการสำรวจจุดและบริเวณโดยรอบสิ่งปลูกสร้างที่เราต้องการจะรีโนเวทว่ามีส่วนใดบ้าง พื้นที่เท่าไหร่ ความชำรุดทรุดโทรมสภาพของสิ่งปลูกสร้าง ณ ปัจจุบันนั้นเป็นอย่างไร มีจุดใด้ที่กังวลเป็นพิเศษหรือควรกังกลเป็นพิเศษหรือไม่ เพื่อจะได้แจ้งให้แก้ผู้ที่เกี่ยวข้องในส่วนนี้รับทราบต่อไป โดยในขั้นตอนนี้นั้นควรทำโดยการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญร่วมด้วยอย่างละเอียด เพราะหากงานรีโนเวทมีการต่อเติมเพิ่มด้วยงานโครงสร้างนั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง หากไม่ตรวจสอบให้ดีอาจก่อให้เกิดอันตรายตามมาได้
4. ตรวจสอบงานระบบ
การตรวจสอบงานระบบนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทิ้งเป็นอย่างยิ่งทั้งระแบบน้ำและระแบบไฟที่เป็นเสมือนท่อน้ำเลี้ยงของสิ่งปลูกสร้างและผู้อยู่อาศัยทั้งหมด โดยเฉพาะสิ่งปลูกสร้างที่มีอายุมากยิ่งควรให้ความสำคัญโดยขั้นตอนนี้ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการตรวสอบเช่นกับเพื่อขอคำแนะนำก่อนที่ผู้เชี่ยวชาญนั้นจะทำการตรวจสอบด้วยตัวเองอย่างละเอียดตอนดำเนินการ โดยสามารถทำการสำรวจและตรวจสอบเบื้องต้นได้ดังนี้
ตรวจระบบน้ำเบื้องต้น
เช็คว่าน้ำประปาทุดจุดนั้นไหลปกติหรือไม่ มีรอยรั่วที่ใดบ้าง มีรอบน้ำหรือการรั่วซึมที่ใดหรือไม่โดยการสังเกตได้จากรอยคราบน้ำตามกำแพงและพื้น ตรวจสอบวาล์วว่ายังเปิดปิดได้ปกติและท่อมีบริเวณแตกหรือรั่วซึม ณ จุดใดหรือไม่ เพื่อประเมิณว่าควรปรับปรุงแค่บางจุดหรือวางระบบน้ำใหม่ทั้งหมดจึงจะคุ้มค่ามากกว่ากัน
ตรวจระบบไฟเบื้องต้น
แผงไฟเดิมนั้นติดตั้งได้เหมาะกับการใช้งานแล้วหรือไม่ รวมไปถึงจุดปล่อยกระแสไฟฟ้ามีเพียงพอหรือต้องเพิ่มจุดที่ใด หลอดไฟและความสว่างนั้นอยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสมและให้ความสว่างที่เพียงพอรวมถึงความร้อนที่ออกมาจากหลอดไฟปลอดภัยแล้วหรือไม่ ไปจนถึงสวิตซ์ไฟทุกจุดนั้นควรจะสามารถใช้งานได้ตามปกติ และการเดินสายไฟต้องเรียบร้อยปลอดภัยสามารถให้ความสว่างเข้าได้อย่างทั่วถึงในทุกจุด
5. ตรวจสอบกฎหมาย ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้อง
สิ่งที่เจ้าของสิ่งปลูกสร้างควรทราบเป็นอย่างยิ่งก่อนที่การดำเนินการรีโนเวทจะเกิดขึ้นนั้นคือกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการต่อเติมหรือดัดแปลงรูปแบบอาคารว่าสิ่งที่กำลังดำเนินดารต่อไปนั้นขัดกับหลักกฎหมายในข้อใดหรือไม่ อะไรคือเงื่อนไขในการรีโนเวท และอะไรคือสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง โดยสามารถขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่โยธาหรือผู้เชี่ยวชาญในบริษัทที่ใช้บริการรีโนเวทร่วมด้วยได้เลย ซึ่งการเตรียมพร้อมในข้อนี้มักเป็นสิ่งที่หลายคนมองข้าม แต่เป็นข้อที่สำคัญยิ่ง ไม่แพ้การเตรียมพร้อมในข้ออื่น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาบานปลายโดนสั่งรื้อถอนในภายหลัง เสียค่าปรับและอาจจะลุกลามไปถึงการจำคุกเลยทีเดียว
6. ศึกษาดูแปลนบ้านอย่างละเอียด
เจ้าของสิ่งปลูกสร้างควรทำการศึกษาดูแปลนทั้งหมดของสิ่งปลูกสร้างนั้น และควรศึกษาดูอย่างละเอียดถี่ถ้วนในจุดที่มีแผนทำการรีโนเวทเพื่อให้เห็นและเข้าในภาพรวมมากขึ้น เมื่อขึ้นขั้นตอนการการอธิบายจุดที่ต้องการให้แก้ผู้ดำเนินการจะได้สื่อสารกันอย่างละเอียดไม่มีจุดขาดตกบกพร่อง อีกทั้งยังเป็นการทวนอีกครั้งถึงจุดต่างๆที่เราได้ทำการตรวจสอบมาก่อนหน้านี้ว่าขาดจุดใดไปหรือไม่ หรือภาพรวมของจุดที่มีปัญหาและต้องแก้ไขมากที่สุดเป็นเรื่องใดและอยู่ที่จุดใด สิ่งในข้อนี้นั้นก็จะส่งผลไปถึงงบประมาณที่จะใช้ด้วยเช่นกัน มีจุดบกพร่องหรือต้องแก้ไขที่ใดจะได้รีบจากการระบุลงไปในแปลนสิ่งปลูกสร้างนั้นได้อย่างทันท่วงที
7. ทำข้อมูลสำหรับผู้อยู่อาศัยรวมถึงสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน
แม้จะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่การทำการบ้านเกี่ยวกับรายละเอียดเกี่ยวกับสไตล์ที่พักอาศัยที่ชอบ งานอดิเรก การใช้งานห้องต่างๆภายในบ้านของแต่ละบุคคลที่พักอาศัยรวมถึงสัตว์เลี้ยงแสนรักของคุณนั้น จะช่วยให้สถาปนิกและมัณฑนาการช่วยออกไอเดีย แนะนำ และวางแผนเรื่องการแบ่งสัดส่วนของพื้นที่ ฟังก์ชั่นการใช้งานที่สอดคล้องไปกับความชอบส่วนตัวและส่วนรวมได้ดีมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยเติมเต็มให้สิ่งปลูกสร้างของคุณนั้นสมบูรณ์แบบอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย
8. เลือกสไตล์ที่ชอบ
สามารถจัดเตรียมรายละเอียดรวมถึงรูปแบบอ้างอิงที่ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างที่ต้องการ การออกแบบทั้งภายในและภายนอกที่ชอบอย่างละเอียดและมากที่สุดเพื่อนำมาคุยกับสถาปนิกและมัณฑนากรได้โดย แล้วไม่ต้องกลัวว่าจะสื่อสารออกมาไม่เข้าใจ เพราะยิ่งละเอียดเท่าไร ทั้งสถาปนิกและมัณฑนากรก็จะสามารถวิเคราะห์จับจุด ตีโจทย์และสร้างผลงานได้ออกมาตรงใจและสะท้อนความเป็นตัวตนได้มากเท่านั้น
9. วัสดุที่เหมาะกับบ้าน
เลือกวัสดุที่ชอบและต้องการโดยทำการปรึกษากับสถาปนิก มัณฑนากร และวิศวรกรมืออาชีร่วมด้วยว่าเหมาะสมกับโครงสร้างเดิมและสามารถใช้ได้หรือไม่ในงบประมาณที่วางไว้พร้อมขอคำแนะนำ เพราะหากสิ่งปลูกสร้างยิ่งมีอายุยาวนานมากการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อการรับน้ำหนักของโครงสร้าง
10. งบประมาณ เตรียมให้พร้อม
การกำหนดงบประมาณนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญเนื่องจากแทบทุกขั้นตอนของการรีโนเวทนั้นล้วนแล้วแต่ต้องใช้ “เงิน” ทั้งสิ้นและระหว่างทางนั้นเต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่คาดคิดอีกมากมาย การปรึกษากับผู้ที่สามารถประเมิณค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้เราได้ตั้งแต่ต้นบวกกับงบประมาณที่เรามีอยู่และความต้องการในการรีโนเวทจึงเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง และไม่ว่าเราจะแพลนงบประมาณไว้ได้ดีขนาดไหนเราก็จัเจอปัญหาซ่อนเร้นไว้ที่จะลุกลามมายังงบประมาณที่เราวางไว้ ฉะนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะเผื่องบประมาณไว้ที่อีก 20 – 30% ของงบประมาณทั้งหมด สำหรับปัญหาที่ยังไม่พบเพื่อป้องกันการสะดุดและความล่าช้าของงานที่อาจจะทำให้บานปลายไปยิ่งกว่าเดิม
11. สรุปสิ่งที่ต้องปรับปรุงและวางแผนการรีโนเวททั้งหมด
เมื่อเป้าหมายชัดเจน ตรวจสอบ และเห็นภาพรวมการรีโนเวททั้งหมดแล้วก็ถึงเวลาลงเมื่อปูทางสู้เป้าหมายกัน
ข้อที่ควรสรุปจากสิ่งที่ได้มามีดังนี้
- สิ่งที่จะต้องมีการปรับปรุง
- สิ่งที่ต้องทำเพิ่ม
- สิ่งที่ต้องรื้อถอน
โดยทั้งหมดนั้นจะต้องระบุรายละเอียดอย่างชัดเจนเพื่อเป็นเสมือนคู่มือเตือนใจและเช็คลิสต์ที่สำคัญให้แก้ผู้ดำเนินการที่เกี่ยวข้อง และควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดถึงความเหมาะสม
12. เลือกบริษัทรีโนเวทบ้านหรือผู้รับเหมาที่เป็นมืออาชีพและเชื่อถือได้
การเลือกใช้ทีมที่เป็นมืออาชีพจบในที่เดียวนับว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าทั้งเวลา คุณภาพและมาตรฐาน รวมไปถึงการให้บริการและคำแนะนำตลอดงานตั้งแต่ต้นจนจบอีกทั้งยังดูแลหลังการขาย เพราะหากได้ผู้รับเหมาที่ไม่ดีแล้วนอกจากจะเสียทั้งเงินและเวลา โครงสร้างของคุณอาจมีปัญหาในระยะยาวได้อีกด้วย
13. อย่ารีบร้อนให้งานเสร็จมากเกินไป และให้ช่างเร่งเก็บงานจนฉุกละหุก
งานรีโนเวทนั้นเป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดเป็นอย่างยิ่ง ในหลายๆส่วนอาจเกิดปัญหาที่ไม่คาดฝันตามมาได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบวัสดุเดิมหรือโครงสร้างเดิมที่ต้องใช้ความละเอียดสูงละระยะเวลาเป็นพิเศษ เจ้าของสิ่งปลูกสร้างเมื่อเจรจาระยะเวลาในการดำเนินการรีโนเวทกับบริษัทรีโนเวทเรียบร้อยแล้วถึงวันจบงาน ในส่วนนี้ก็เป็นอีกข้อที่สำคัญที่ควรทำการเจรจาและตกลงยินยอมกันทั้งสองฝ่ายว่าเมื่อเกิดปัญหาที่ไม่คาดฝันหรือขั้นตอนใดที่อาจล่าช้ากว่ากำหนดเสร็จเดิมนั้น สามารถยืดหยุ่นได้มากน้อยเพียงใดจึงจะเป็นที่พึงพอใจต่อทั้งสองฝ่าย แต่อย่างไรก็ดีเจ้าของสิ่งปลูกสร้างไม่ควรรีบร้อนโดยไม่คำนึงถึงสถาณการณ์และเหตุผล เพราะการกลับมาแก้งานอีกครั้งนั้นอาจทำงานงานรีโนเวทนั้นล่าช้าไปกันใหญ่
14. อย่าเปลี่ยนใจบ่อย
จากทุกข้อที่เรานั้นได้ทำการเตรียมพร้อมไปแล้วอย่างละเอียดถี่ถ้วนตั้งแต่ต้นก่อนเริ่มดำเนินการรีโนเวท เพื่อให้ทุกขั้นตอนทุกจุดนั้นเป็นไปอย่างราบรื่นตามที่วางไว้ แต่ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่ระหว่างทางอาจเกิดจริงที่ไม่คาดฝันเข้ามาทำให้เราลังเลหรืออยากเปลี่ยนใจได้ ดังนั้นสิ่งที่พึงกระทำคือพยายามยึดแนวทางปฏิบัติเดิมที่ได้วางไว้ตั้งแต่ต้นให้ได้มากที่สุดไม่เปลี่ยนใจไปมาบ่อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อขั้นตอนการก่อสร้างได้ดำเนินไปแล้ว เพราะนอกจากจะไม่ต้องเสียเวลา ไม่ต้องเสี่ยงกับปัญหาในการแก้ไขงานที่อาจจะเกิดขึ้นเพิ่มเติม งบประมาณนั้นก็จะไม่บานปลายอีกด้วย
15. แจ้งเพื่อนบ้านหรือผู้ข้างเคียงก่อนเริ่มก่อสร้าง
เมื่อเตรียมพร้อมทุกขั้นตอนแล้วก็เหลือเพียงบ้านใกล้เรือนเคียงที่ไม่อาจหลีกเหลี่ยงได้ การเข้าไปแจ้งให้เพื่อนบ้านหรือผู้อยู่อาศัยละแวกนั้นรับทราบว่ากำลังจะมีการรีโนเวทเกิดขึ้นพร้อมบอกระยะเวลาในการก่อสร้างที่ได้ประเมิณการมาแล้วโดยผู้รับเหมาเป็นสิ่งที่เพิ่งกระทบ เพราะผู้อยู่อาศัยระแวกรอบข้างอาจได้รับผลกระทบจากการรีโนเวทอาทิเช่น เสียงก่อสร้าง กลิ่นสี คนเข้าออกที่มากขึ้น และการแจ้งให้เพื่อนบ้านเราทราบนั้นนอกจากจะเป็นการเริ่มต้นความสัมพันธ์อันดีแล้ว ยังแสดงออกถึงความจริงใจอีกด้วย
เมื่อเตรียมตัวพร้อมแล้วสามารถเริ่มโปรเจครีโนเวทกับ 369 House Design หรือปรึกษาเรื่องรีโนเวทกับทีมงานมืออาชีพของเราได้ตอนนี้เลย
ปรึกษากับมัณฑนากรมืออาชีพของเรา